คลังบทความของบล็อก

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไม้กลางบ้าน พืชผักอัสจรรย์ มากด้วยคุณค่า โภชนาการ และเป็นสมุนไพร รักษาโรค กว่า 300ชนิด"มะรุม"





มะรุมเป็นผักที่มีประโยชน์มากมาย ขณะนี้ผู้คนกำลังตื่นเต้นเรื่องมะรุมกันมาก จึงนำข้อมูลมาเพื่อการพิจารณากัน



การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร: Plantae
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Brassicales
วงศ์: Moringaceae
สกุล: Moringa
ชนิด: M. oleifera

มะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีประโยชน์เอนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 - 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 - 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 - 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.
มะรุมเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น และยังมีในเขตเอเชียไมเนอร์และแอฟริกา เป็นไม้ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง งอกเร็ว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ต้นกล้าสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร



มะรุม พืชสมุนไพรมหัสจรรย์


หน้าที่ 1 - ประโยชน์ของมะรุม

เรื่องมะรุม 



         มะรุมไม้กลางบ้านของไทยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานนอกจากจะรับประทานอร่อยแล้ว ชาวอินเดียยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆได้ถึง 300 ชนิด องค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในการรักษาโรคขาดอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเจริญเดิบโตในประเทศด้อยพัฒนาเช่นกลุ่มประเทศในอาฟริกาตอนใต้และประเทศอินเดีย   กลุ่มองค์การกุศลมากมายได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ รวมทั้งประเทศไทย กลุ่มนักศึกษาแพทย์จำนวน 25 ท่านจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้ทำการทดลองวิจัยในการที่จะนำมารักษาผู้ป่วยด้วย




         โรคงูสวัดแม้แต่กลุ่มประเทศอื่นๆเช่นอังกฤษ , เยอรมัน , รัสเซีย , ญี่ปุ่น , จีน , ก็หันมาให้ความสนใจและทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง   เบาหวาน โรคเอดส์ และอีกมากมาย


ประโยชน์คร่าวๆจากวารสารค้นคว้าที่พอจะอ้างอิงได้มีดังต่อไปนี้คือ 


      1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ   และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ   และตาบอด ได้เป็นอย่างดี

      2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้   ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย

      3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง

      4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายถ้าแม้ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อ HIV   นอกจากนี้ยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง

      5. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้และสามารถมีชิวิตอยู่อย่างคนทั่วไปได้ในสังคมการรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศอาฟริกา แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยู่ในภาวะทดลอง

      6. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งแต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น   ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบันหากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี   การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง

      7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊า โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก   โรครูมาติซั่ม

      8. รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น   โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ   เป็นต้นถ้ารับประทานสม่ำเสมอ   จะทำให้?ามีสุขภาพที่สมบูรณ์

      9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้   เป็นต้น

      10. รักษาปอดให้แข็งแรง   รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ



         นอกจากนี้ต้นมะรุมยังมีคุณประโยชน์อีกมากมายซึ่งไม่สามารถที่จะนำมาอ้างอิงได้หมดในที่นี้     หากสนใจท่านสามารถหาอ่านได้จากเอกสารอ้างอิงกำกับท้ายเอกสารฉบับนี้


มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค

มีวิตามินซี  มากกว่าส้ม  7  เท่า

มีแคลเซี่ยมมากกว่านม  4  เท่า

มีวิตามินเอมากว่าแครอท  4  เท่า

มีโปแตสเซี่มมากกว่ากล้วย  3 เท่า

มีโปรตีนมากกว่านม  2 เท่า

 มะรุม ยาวิเศษสารพัดโรค 




ในคัมภีร์ไบเบิ้ลกล่าวไว้ว่า มะรุมเป็นพืชที่สามารถรักษาทุกโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคลำไส้อักเสบ โรคปอดอักเสบ ฆ่าจุลินทรีย์  หรือเป็นยาปฏิชีวนะ  และแต่ละส่วนของต้นมะรุม

ราก มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ

 เปลือกจากลำต้น  มีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรค  ปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี  รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้
ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบท จะใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมา



 กระพี้  แก้ไข้สันนิบาดเพื่อลม


 ใบ  ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่า
นมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน

ดอก  ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา  ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย

ฝัก  รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้

น้ำ เมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันสามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า  รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง  แก้ผิวแห้ง  ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น  รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา



วิธีใช้ 
   
ใบสด   ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนัก   เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่
เด็กแรกเกิด - 1 ปี  คั้นน้ำจากใบเพียง 1หยด ผสมกับนมให้ดื่มเพียง 1หยด ต่อ 1-2 วัน ใบมะรุมนี้มีธาตุเหล็กสูงมาก   ฉะนั้นทารกในวัยเจริญเติบโต-2 ขวบ จึงไม่ควรทานมาก
เด็กที่เริ่มทานอาหารได้ถึง 3-4 ขวบ ควรทานวันละไม่เกิน2ใบ เพิ่มจำนวนขึ้นทีละใบตามอายุ จนถึง 10 ขวบ

เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 กิ่ง จะทานสดหรือประกอบอาหารก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลรวดเร็ว ควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ หรือ 1 ช้อนชาสำหรับเด็ก




          การรับประทานสุกควรลวกแต่พอควรเพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทำให้สารอาหารหลายชนิดเสื่อมคุณภาพลงไปมาก ถ้าสามารถรับประทานสดได้จะดีมากใช้ทำสลัดรวมกับผักสด หรือวางบนแซนวิช


ผล  รับประทานได้ทั้งฝักอ่อนและฝักแก่พอสมควรฝักแก่จะใช้ลำบากเพราะต้องปอกเปลือกเช่นใช้แกงส้มหรือขูดเอาแต่เนื้อใน มาทำแกงกะหรี่  ฝักอ่อนขนาดถั่วฝักยาวสามารถนำมาทำอาหารได้มากมายหลายชนิด อาทิ เช่น แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน(เหมือนยำถั่วพลู)

สลัดสดใบมะรุมผักรวม ทอดมันปลากับฝักมะรุมอ่อน  แกงเลียงฝักมะรุมอ่อนและใบมะรุม
แกงเผ็ดฝักมะรุมอ่อน  ไข่ยัดไส้ใบมะรุมหมูสับ  ดอกมะรุมชุบไข่ทอด
ผัดพริกขิงฝักมะรุมอ่อน  ผัดจืดฝักมะรุมอ่อนใส่ไข่และกุ้ง ผัดเผ็ดฝักมะรุมอ่อนยอดพริกไทยกับไก่
ฝักมะรุมอ่อนผัดขี้เมา  ไก่อบฝักมะรุมอ่อน   ยอดดอก  และฝักมะรุมอ่อนจิ้มน้ำพริก
ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน  ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดสดต่างๆ   ราดหน้าฝักและใบมะรุมอ่อนไก่/หมู
แกงจืดใบมะรุมอ่อนเต้าหู้  ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดหูหนู  จีน แกงจืดวุ้นเส้นใบมะรุมอ่อนใส่เห็ดสด  
แกงเขียวหวานหรือแกงแดงฝักมะรุมอ่อน(จะใส่เนื้อ หรือไก่ก็ได้ตามแต่ชอบ)
ยอดดอก และฝักมะรุมอ่อนชุบแป้งเทมปุระทอด  เหล่านี้เป็นต้น

เมล็ด  สามารถนำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นใช้ทำอาหารได้ รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า  รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา



เปลือกจากลำต้น นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรคปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี  * ร้านขายยาจีนนำมาใช้เข้าเครื่องยาจีนรักษาโรคหลายประเภท*


กากของเมล็ดกากที่เหลือจากการทำน้ำมันสามารถนำมาใช้ในการกรองหรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นนำมาทำปุ๋ยต่อได้


ดอก ใช้ต้มทำน้ำชาใช้ดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย


ใบตากแห้ง  สามารถนำใบมาตากแห้งโดยการตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเมื่อแห้งสนิทดีแล้วนำมาป่นเป็นผงบรรจุในหลอดแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การพกพาในกรณีที่เดินทางและหาใบสดไม่ได้ใช้ทำเป็นน้ำชาไว้ดื่มได้ตลอดวันแต่ใบแห้งจะขาดไวตามินซีและไวตามินบีต?อลีนและแร่ธาตุบางจำพวกที่สูญหายในระหว่างการทำให้แห้งควรเก็บผงมะรุมไว้ในที่มืดเช่นขวดพลาสติกชนิดทึบเพื่ อ กั นการเสื่อมคุณภาพแต่คุณสมบัติอื่นๆ  ยังคงเดิมเนื่องจากมะรุมเป็นพืชสมุนไพรกลางบ้านดังนั้นการให้ผลย่อมช้ากว่ายาแผนสมัยใหม่การที่จะใช้ให้ได้ผลอย่างจริงจังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนและต้องใช้ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอจะให้ผลเป็นที่น่าพอใจร่างกายจะแข็งแรงอยู่เสมอคนธรรมดาที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคก็สามารถใช้ได้เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อต่างๆ  สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายเป็นอย่างดียิ่ง




       เอกสารอ้างอิง:
Nature's Medicine Cabinet by Sanford  Holst

The Miracle Tree by Lowell Fuglie
LA times
March 27th 2000  article wrote by Mark Fritz.
WWW.PUBMED.GOV .  (Search for Moringa) (Antiviral Research Volume 60, Issue 3, Nov. 2003,  Pages 175-180: Depts. of Microbiology, Pharmaceutical Botany,  Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University ,   Bangkok 10330 , Thailand . Corresponding author. Tel.: +66-2-218-8378; fax  +66-2-254-5195)



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก บ้านยาสมุนไพร

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

พรรณไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ชํามะนาด ปลูกเป็นไม้ซุ่ม




ภาพ http://www.n3k.in.th


ชื่อพื้นเมือง ชํามะนาด ถิ่นกำเนิด ประเทศ อินโดนีเชีย
ชื่อสามัญ Bread Flower
ชื่อวิทยาศาสตร Vallaris glabra (L.) Kuntze
ชื่อวงศ APOCYNACEAE

พรรณไม้พุ่มกึ่งเลื้อย  ชํามะนาด ปลูกเป็นไม้ซุ่ม ดอก อบแป้งร่ำ เครื่องหอม วางบนสำหรับกับข้าว ทำให้มีกลิ่นหอมดี

ชื่ออื่น ชมนาด ชํามะนาดกลาง (กลาง) ชามะนาดฝรั่ง ดอกขาวใหม ( กรุงเทพฯ) อมสาย (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป


ภาพ maipradabonline.com 

ชำมะนาดป่าเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ลำต้นมีความสูงโดยประมาณ 7 เมตรเศษ ๆ
                  และมีน้ำยางสีขาว ลำต้นจะเป็นสีเขียวคล้ำ



เป็นไม้ใบเดี่ยว ใบจะมีการเรียงตัวกันเป็นคู่ออกตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปรี
                  หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ส่วนโคนใบก็แหลมเช่นกัน ใบจะมีความ
                  กว้างประมาณ 4 เซนติเตร และยาวประมาณ 14 เซนติเมตร เนื้อใบบางและมีเส้น
                  ใบประมาณ 10-12 คู่ ก้านใบยาว


ใบ ใบเปนรูปไขปลายแหลม กวาง 8-10 เซนตเมตร ิ ยาว 10-15 เซนติเมตร ใบเปนมันสีเขียว
เขม



ออกดอกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นช่อพวง หรือในบางครั้งดอกก็อาจจะออกตามง่ามใบ
                  ด้วย ดอกจะเป็นสีขาวมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ภายในดอกหนึ่ง ๆ จะมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ
                  5 อัน ที่ก้านเกสรจะมีขน ส่วนเกสรตัวเมีย จะมีอยู่ 2 ช่องติดกัน และท่อเกสรตัวเมีย
                  ก็จะมีขนด้วย  



ดอก เปนดอกชอ ดอกสีขาวอมครีมเขียว ออกเปนชอตามซอกใบ  ชอละ 10-15 ดอกโคนกลีบดอก
เชื่อมกัน ปลายแยกเปน 5 แฉก ปลายแฉกแหลม ดอกบานกลิ่มคล้ายใบเตยหอม


การขยายพันธุ

การกระจายพันธุ

ใช้กิ่งขยายพันธุ์ ปักชำ ชอบแดดจ้า เป็นไม้กลางแจ้ง จะออกดอกดีดก ใช้อบแป้งหอม

มีต้นขาย ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร

หมากหาด-มะหาด-พันธุ์ไม้ที่คนรักสวยรักงามต้องการ






ภาพ จากเฟชบุ๊ก?สมาชิกท่านหนึ่ง


ภาพ nybeautyshopping.lnwshop.com 


ชื่อ

ในแต่ละภูมิภาค มะหาดจะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันกล่าวคือ ภาคเหนือเรียก "หาดหนุน" ในจังหวัดเชียงใหม่เรียก "ปวกหาด" ภาคกลางเรียก "หาด" ทางภาคใต้เรียก "มะหาด" ในจังหวัดตรังเรียก "มะหาดใบใหญ่" และตั้งแต่จังหวัดนราธิวาสถึงประเทศมาเลเซีย เรียก "กาแย , ตะแป , ตะแปง"

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:    Plantae
หมวด:    Angiosperm
ชั้น:    Dicotyledon
อันดับ:    Urticales
วงศ์:    Moraceae
สกุล:    Artocarpus
ชนิด:    lakoocha


ประโยชน์

ต้นมะหาดที่สามารถนำมาใช้ผลประโยชน์ได้นั้นจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 5 ปี

ทางสมุนไพร

แก่น - ใช้แก่นมะหาดสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มเคี่ยวกับน้ำจนเกิดฟอง ช้อนฟองออก กรองกับผ้าขาวบาง พักสะเด็ดน้ำ แล้วนำมาตากให้แห้งหรือย่างกับไฟ นำมาบดจะได้ผงสีเหลืองเรียกว่า "ปวกหาด" ใช้ผงประมาณ 3-4 กรัมหรือ 1-2 ช้อนชา ผสมกับน้ำสุกที่เย็นแล้ว สามารถผสมน้ำมะนาวลงไปด้วย รับประทานก่อนอาหารเช้า หลังปวดหาดไปแล้ว 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือตาม เพื่อถ่ายตัวพยาธิออกมา สามารถทานแก้อาการท้องผูก, ท้องอืด, ท้องเฟ้อได้หรือนำผงปวกหาดมาละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน

ราก - ใช้ลดอาการไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับถ่ายถ่ายพยาธิ แก้พิษร้อน
เปลือก - ใช้ลดอาการไข้




ภาพxn--42c5azbk1boatfp1dyj.blogspot.com

ทางนิเวศน์
ต้นไม้ - ให้ความร่มรื่น ให้ร่มเงา ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน

ทางเนื้อไม้
เนื้อไม้ - ใช้ทำเสา หมอนรองรางรถไฟ สะพาน ด้ามเครื่องมือทางการเกษตร ผืนระนาดเอก ผืนระนาดทุ้ม และลูกโปงลาง เป็นไม้เนื้อหยาบ แข็ง เหนียวและทนทาน ปลวกและมอดไม่ขึ้น สามารถเลื่อย, ไส, ตบแต่งได้ง่าย

ด้านโภชนาการ
ผลไม้ - เมื่อสุกสามารถรับประทานได้ เนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยวอมหวาน


ด้านสารสกัด
สารสกัด - ลดอาการผมร่วง กระตุ้นการงอกของเส้นผม แก้โรคเริม ช่วยทำให้โรคผิวหนังค่อย ๆ หายไป ลดความคล้ำของเม็ดสีผิว


ด้านเบ็ดเตล็ด
ราก - ย้อมสีผ้า (ให้สีเหลือง)
เปลือก - นำไปทำเชือก


ต้นไม้ประจำจังหวัด

เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด และเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นมะหาดในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

การปลูกดูแลบำรุงรักษา

การปลูกต้นมะหาดก่อนที่จะปลูกต้นไม่ลงไปต้องฆ่าเชื้อโรคในดินและเพิ่มสารอาหารในดินก่อนเริ่มปลูก โดยขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร แล้วตากดินไว้นาน 1–2 สัปดาห์ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่สลายตัวดีแล้วรองก้นหลุม
นำต้นกล้าลงปลูกกลบดินให้แน่นระยะเริ่มปลูกควรรดน้ำทุกวันถ้าฝนไม่ตกและต้นกล้ายังตั้งตัวไม่ได้ ควรใช้ไม้หลักปักยึดกับลำต้นกันโยกและทำที่บังแสงแดดด้วย นอกจากนี้เมื่อต้นโตขึ้นควรกำจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นเป็นบางครั้ง


ลักษณะ

มะหาดเป็นยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ความสูง 15-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลไหม้เป็นลายแตกละเอียด มีส่วนยอดเป็นพุ่มหนาและทึบ
ใบไม้เป็นใบเดี่ยว ขนาดวงรีจนถึงรูปไข่ กว้าง 5-20 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ที่ขอบใบมีริวขึ้นโดยรอบ มีขนขึ้นทั้ง 2 ด้านของใบ

ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และกลายเป็นผลในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ลักษณะดอกจะมีสีขาวอมเหลืองมีขนาดเล็ก
ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รัศมีจากจุดศูนย์กลางยาว 2.5-5 เซนติเมตร รูปร่างกลมแป้นใหญ่ มีทรงบิ้วเบี้ยวเป็นบางลูก เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม แต่ละผลมีเมล็ด 1 เมล็ด รูปทรงรี

...........

ขอบคุณพิเศษ วิกิพีเดีย

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

ดอกประดู่



การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:    พืช (Plantae)
หมวด:    Magnoliophyta
ชั้น:    Magnoliopsida
อันดับ:    Fabales
วงศ์:    Fabaceae
วงศ์ย่อย:    Faboideae
เผ่า:    Dalbergieae
สกุล:    Pterocarpus
ชนิด:    P. indicus


ประดู่อังสนา หรือ ดู่ป่า (เหนือ) หรือ อะนอง หรือ ดู่ (อังกฤษ: Burma Padauk) เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทาลำต้นเป็นพูไม่กลมแตกกิ่งก้านสาขากว้าง มีเรือนยอดทึบแตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆ ใบเป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่งมีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ 6-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว กว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ออกดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ผลมีขนเล็กๆปกคลุม ขนาดผลโตประมาณ 4-6 เซนติเมตร





การปลูกเลี้ยง

ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ชอบดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด นิยมปลูกริมถนนเพราะกิ่งทอดลงห้อยย้อยสวยงาม

สัญลักษณ์

ดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพเรือไทย
ดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์และต้นไม้ประจำ โรงเรียนวัดป่าประดู่
ดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และ จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนต้นประดู่เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต
ดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำชาติพม่า
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนเซนต์ราฟาแอล
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนดรุณากาญจนบุรี
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์


การใช้ประโยชน์

ประดู่กิ่งอ่อนหรือประดู่บ้านสะสมแคดเมียมได้ 470 µg/g เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์
ไม้ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้
เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แก่นให้สีแดงคล้ำสำหรับย้อมผ้า

.............................

  • Picture ::: www.pibul.ac.th


ประดู่แดง



การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:    Plantae
หมวด:    Magnoliophyta
ชั้น:    Magnoliopsida
อันดับ:    Fabales
วงศ์:    Fabaceae
สกุล:    Phyllocarpus
ชนิด:    P. septentrionalis

ประดู่แดง (ชื่อวิทยาศาสตร์ :Phyllocarpus septentrionalis Donn. Smith) เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10 -12 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เรือนยอดแผ่กว้างกิ่งลู่ลง ผลัดใบ ใบเป็นรูปมนรีออกเป็นคู่ สลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีสีเขียว ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสีแดงสด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน จะทยอยกันบานไล่ขึ้นไปตั้งแต่โคนก้านช่อจนถึงปลายช่อ เวลาบานจะแดงสพรั่งทั้งต้น เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม*มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย เมล็ดแบน มีถิ่นกำเนิดในประเทศกัวเตมาลา ทวีปอเมริกาใต้
ชื่อสามัญ: ประดู่แดง (Monkey Flower Tree, Fire of Pakistan)
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: วาสุเทพ
ประเภท: ไม้ยืนต้น
การขยายพันธ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
การดูแล: ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำและความชื้นน้อย ชอบดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี
เกร็ด

ต้นไม้ประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ต้นไม้ประจำโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
ต้นไม้ประจำโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี
ต้นไม้ประจำโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ 12 โรงเรียนทั่วประเทศ
ต้นไม้ประจำโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ต้นไม้ประจำโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี
ต้นไม้ประจำโรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา



credit:Picture:Internet