คลังบทความของบล็อก

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

คุณประโยชน์ต้นหอม


หอมต้นเดี่ยว

ต้นหอมสดมัดเป็นกำ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
(unranked): Angiosperms
(unranked): Monocots
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Amaryllidaceae
วงศ์ย่อย: Allioideae
สกุล: Allium


หอมต้นเดี่ยว มักเรียกว่า ต้นหอม เป็นพืชในสกุล Allium ที่สามารถรับประทานได้


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นหอมเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กตระกูลเดียวกับกระเทียม มีหัวสีขาวบ้างก็ปนสีม่วงอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหาร ใบเป็นท่อยาว ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ช่อดอกเมื่อบานมีลักษณะคล้ายร่ม มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ต้นหอมกินได้ทั้งใบ ดอก และหัว มีกลิ่นฉุนและรสซ่า นิยมนำไปกินเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวหมูแดง ส่วนใบใช้ตกแต่งโรยหน้าอาหาร และใส่ในต้ม ผัด ยำ แกงต่างๆ หรือนำไปดอง


คุณค่าทางโภชนาการ

ต้นหอมสด 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โซเดียม 16 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม เส้นใย 2.6 กรัม น้ำตาล 2.3 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม โพแทสเซียม 276 มิลลิกรัม

สรรพคุณ

ต้นหอมช่วยในการขับเหงื่อและบำรุงหัวใจ ถ้ากินสดๆ อย่างต่อเนื่องสามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้ ถ้านำต้นหอม 5-6 ก้าน ต้มกับขิง 2 แว่น กรองน้ำดื่ม ขับเหงื่อ ลดไข้


สรรพคุณทางยา

ใช้แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยการใช้ใบหรือหัวทุบพอแตกใส่ในเหล้าขาว


อ้างอิง

หนังสืออาหารเป็นยา ทางเลือกที่ไม่ต้องใช้ยา
หนังสือผักพื้นบ้าน: อาหารที่ไม่ควรมองข้าม
หนังสือผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน สำนักพิมพ์แสงแดด, กรุงเทพฯ , 2548.
พืช บทความเกี่ยวกับพืชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พรรณพฤกษา

.......................................
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกร็ดความรู้การปลูกชะพลูและประโยนช์

ชะพลู หรือ ช้าพลู  (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper sarmentosum Roxb.) เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae มักสับสนกับพลู แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า
ชะพลูมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือทางภาคเหนือเรียกว่า "ผักปูนา" "ผักพลูนก" "พลูลิง" "ปูลิง" "ปูลิงนก" ทางภาคกลาง เรียกว่า "ช้าพลู" ทางภาคอีสานเรียกว่า "ผักแค" "ผักปูลิง" "ผักนางเลิด" "ผักอีเลิด" และ ทางภาคใต้เรียกว่า "นมวา"


ช้าพลู

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Piperales
วงศ์: Piperaceae
สกุล: Piper
ชนิด: sarmentosum
ชื่อทวินาม
Piper sarmentosum
Roxb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า มีสีเขียวเข้มเป็นใบเดี่ยว รสชาติเผ็ดอ่อนๆ ดอกออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่า


การกระจายพันธุ์

ชะพลูพบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตอนใต้ของจีน และไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน



การปลูกเลี้ยง

ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้


สรรพคุณทางยา

ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสารเบต้า-แคโรทีนสูงมาก


ข้อควรระวัง

ใบชะพลูมีสารกลุ่มออกซาเลต (Oxalate) ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสารที่สามารถทำให้เกิดนิ่วในไตได้ ถ้าหากร่างกายได้รับการสะสม จึงควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้สารดังกล่าวถูกเจือจ่าง ถูกขับถ่ายมาทางปัสสวะ หรือทานอาหารจำพวกโปรตีนสูงๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วก็ได้


อ้างอิง

↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (สืบค้นออนไลน์)
↑ "Piper sarmentosum". Asia Food Glossary. Asia Source. สืบค้นเมื่อ 2008-09-08.
↑ "Piper sarmentosum Roxb. – An addition to the flora of Andaman Islands". Current Science 87 (2). July 25, 2004. สืบค้นเมื่อ 2008-09-08.
ชะพลู 108 พรรณไม้ไทย
ชะพลู คลังปัญญาไทย

.........................

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

บ้าน 20 ล้าน จากน้ำพักน้ำแรงของ "ใบเตย อาร์สยาม"

บ้านใหม่จากน้ำพักน้ำแรงของลูกทุ่งนุ่งสั้น "ใบเตย อาร์สยาม" ใกล้จะเสร็จแล้ว ล่าสุดเจ้าตัวก็เลยขอแชะภาพบ้านใหม่หลังละเกือบ 20 ล้านมาให้แฟนๆ ได้ดูกัน เห็นแล้วต้องบอกว่าใหญ่โตโอ่อ่าสมราคาทีเดียว






บ้าน 20 ล้าน จากน้ำพักน้ำแรงของ "ใบเตย อาร์สยาม" 

งานนี้รอลุ้นภายในว่าจะตกแต่งสไตล์ไหน เพราะเชื่อว่าอีกไม่นานสาวใบเตยต้องโพสต์ภาพมาอวดให้หลายคนได้อิจฉาแน่นอน

...........................

คลิกชมภาพและอ่านต่อ....