คลังบทความของบล็อก

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

ดอกประดู่



การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:    พืช (Plantae)
หมวด:    Magnoliophyta
ชั้น:    Magnoliopsida
อันดับ:    Fabales
วงศ์:    Fabaceae
วงศ์ย่อย:    Faboideae
เผ่า:    Dalbergieae
สกุล:    Pterocarpus
ชนิด:    P. indicus


ประดู่อังสนา หรือ ดู่ป่า (เหนือ) หรือ อะนอง หรือ ดู่ (อังกฤษ: Burma Padauk) เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทาลำต้นเป็นพูไม่กลมแตกกิ่งก้านสาขากว้าง มีเรือนยอดทึบแตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆ ใบเป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่งมีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ 6-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว กว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ออกดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ผลมีขนเล็กๆปกคลุม ขนาดผลโตประมาณ 4-6 เซนติเมตร





การปลูกเลี้ยง

ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ชอบดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด นิยมปลูกริมถนนเพราะกิ่งทอดลงห้อยย้อยสวยงาม

สัญลักษณ์

ดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพเรือไทย
ดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์และต้นไม้ประจำ โรงเรียนวัดป่าประดู่
ดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และ จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนต้นประดู่เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต
ดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำชาติพม่า
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนเซนต์ราฟาแอล
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนดรุณากาญจนบุรี
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์


การใช้ประโยชน์

ประดู่กิ่งอ่อนหรือประดู่บ้านสะสมแคดเมียมได้ 470 µg/g เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์
ไม้ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้
เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แก่นให้สีแดงคล้ำสำหรับย้อมผ้า

.............................

  • Picture ::: www.pibul.ac.th


ประดู่แดง



การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:    Plantae
หมวด:    Magnoliophyta
ชั้น:    Magnoliopsida
อันดับ:    Fabales
วงศ์:    Fabaceae
สกุล:    Phyllocarpus
ชนิด:    P. septentrionalis

ประดู่แดง (ชื่อวิทยาศาสตร์ :Phyllocarpus septentrionalis Donn. Smith) เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10 -12 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เรือนยอดแผ่กว้างกิ่งลู่ลง ผลัดใบ ใบเป็นรูปมนรีออกเป็นคู่ สลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีสีเขียว ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสีแดงสด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน จะทยอยกันบานไล่ขึ้นไปตั้งแต่โคนก้านช่อจนถึงปลายช่อ เวลาบานจะแดงสพรั่งทั้งต้น เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม*มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย เมล็ดแบน มีถิ่นกำเนิดในประเทศกัวเตมาลา ทวีปอเมริกาใต้
ชื่อสามัญ: ประดู่แดง (Monkey Flower Tree, Fire of Pakistan)
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: วาสุเทพ
ประเภท: ไม้ยืนต้น
การขยายพันธ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
การดูแล: ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำและความชื้นน้อย ชอบดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี
เกร็ด

ต้นไม้ประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ต้นไม้ประจำโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
ต้นไม้ประจำโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี
ต้นไม้ประจำโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ 12 โรงเรียนทั่วประเทศ
ต้นไม้ประจำโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ต้นไม้ประจำโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี
ต้นไม้ประจำโรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา



credit:Picture:Internet