คลังบทความของบล็อก

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กาซะลอง ภาษาเหนือ ส่วนภาษากลางคือ ปีบ ไม้มากประโยชน์


ปีบ หรือ กาซะลอง ในภาษาไทยถิ่นเหนือ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Millingtonia hortensis เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15 เมตร มีดอกรูปแตรสีขาวหอมอ่อน ๆ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ปีบยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี)

ปีบเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะย้อยลง เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงเวียน ช่อแขนงด้านข้างมี 3-5 คู่ ปลายคี่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยแขนงละ 2-4 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย


ดอกมีสีขาวหรือชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ช่อดอกขนาดใหญ่ ยาว 10-35 ซม. มีขน กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก ปลายมนกว้างม้วนลง เป็นหลอดยาวปลาย 4 แฉก มี 1 กลีบที่ปลายเป็น 2 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4 ซม. ผลแห้งแตก เป็นฝักแบนและตรง สีน้ำตาล หัวท้ายแหลม กว้าง 1.5-2.3 ซม. ยาว 25-30 ซม. เมล็ดแบนมีปีกบาง


ดอกตากแห้งนำมาม้วนเป็นบุหรี่สูบ รักษาริดสีดวงจมูก และมีสาร hispidulin มีฤทธิ์ในการขยายหลอดลมรักษาอาการหอบหืด สารสกัดจากใบที่สกัดด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้
...............
สรรพคุณของปีบ
ใบปีบดอกมีสรรพคุณเป็นบาบำรุงกำลัง (ดอก)
ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก)
รากช่วยบำรุงปอด (ราก)
ช่วยรักษาวัณโรค (ราก)
ใช้เป็นยารักษาไซนัสอักเสบ (ดอก)
ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้ดอกที่ตากแห้งแล้วนำมามวนเป็นบุหรี่สูบเพื่อรักษาอาการ (ดอก)
ช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย ทำให้ระบบการหายใจดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ดอกปีบแห้งประมาณ 6-7 ดอก แล้วมวนเป็นบุหรี่สูบ เพื่อรักษาอาการหอบหืดได้ (ราก,ดอก)
ช่วยรักษาปอดพิการ (ราก)
ใช้เป็นยาแก้ลม (ดอก)
ใบใช้มวนเป็นบุหรี่สูบแทนฝิ่น เพื่อช่วยขยายหลอดลม และรักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน (ใบ)
..............
เป็นไม้ที่ปลูกง่ายตายยาก โตเร็วไม้ร่มเงา แต่ทว่าบางสายพันธุ์ ขยายพันธุ์เร็ว และรากไชซอน ไปได้ไกลต้องคอยสังเกตุด้วยมันอาจจะไปทำลาย บ้านอาคารได้ (หูกวาง ต้องปลูกไว้ไกลบ้าน) บีบมีใบดกต้องขยันกวายดใบมัน ไม่งั้นจะเป็นอาศัยของสัตว์เลื้อยึลานบางชนิด
........................
ข้อมูล วิกิพีเดีย